เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

12:25 :: Posted by - IT_GiRL51 :: Category -

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (Information Systems Conceptual)

ข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมาย ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เพราะข้อมูลเป็นส่วนกอบที่สำคัญในอันที่จะนำมาซึ่งระบบสารสนเทศ

วศิน เพิ่มทรัพย์ (2548, หน้า 12) ข้อมูล เป็นรูปแบบของข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้ บางครั้งนิยมเรียกว่า

ข้อมูลดิบ (Raw Data) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรเพียงอย่างเดียว หรือข้อมูลประเภทมัลติมีเดียที่มีทั้งภาพ และเสียงประกอบโดยมักนำมาเป็นส่วนนำเข้า (Input unit) เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันน์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล (2545,หน้า 40) ข้อมูล เป็นข้อมูลที่ยังไม่มีความหมายในการ

นำไปใช้งาน และถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ

ทักษิณา สวนานันท์ และฐานิตรา เกียรติบารมี (2546,หน้า165) ข้อมูล คือ กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมาย อย่างใดอย่างหนึ่งและสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ต่อไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์ (2545,หน้า 9) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือข้อมูลที่ยังไมผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็น ตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียงหรือภาพเคลื่อนไหว

อัลเทอร์ (Alter,2002 p.9) ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง รูปภาพ หรือเสียงที่อาจจะตรงกับความต้องการหรือไม่ตรงกับความต้องการอาจจะมีประโยชน์ หรืออาจจะไมมี่ประโยชน์สำหรับงานใดโดยเฉพาะก็ได้

สรุป ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

ความหมายของสารสนเทศ (Information)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2538 หน้า 831) ให้คำนิยามว่า สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสาร การแสดงหรือการชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่างๆ

ณัฏฐนันท์ เขจรนันท์ และไพบูลย์ เกียรติโกมล (2545, หน้า40) คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากการประผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบที่สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินผู้บริหารทำให้ผู้บริหารสามารถแก้ไขปัญหา หรือมีทางเลือกในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ครรชิต มาลัยวงศ์ (2535, หน้า 12) ข้อมูลที่ได้รับ การประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับและมีคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ ว่าจะมีค่าสำหรับการดำเนินหรือการตัดสินใจในปัจจุบันหรืออนาคต

สุชาดา กีระนันท์ (2533, หน้า 3) คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ หรือประมวลแล้วนำเสนอในรูปแบบที่สื่อความหมายหรือให้ความรู้ ข้อคิดเห็น หรือข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

อัลเทอร์ (Alter,1996 p.29) ข้อมูลข่าวสารข้อความ หรือข้อสรุปที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม

กอร์ดอนและกอร์ดอน (Gordon and Gordon, 1999 p.6) คือ การประมวลผลข้อมูล ซึ่งข้อมูลจะถูกจัดการ แปลความจัดรูปแบบ วิเคราะห์และสรุปผล

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่นำมาผ่านกระบวนการประมวลผลข้อมูล และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพ เสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆ

ยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูล และสารสนเทศมีความสำคัญต่อการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจ และการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (data) เกิดจาก Raw Facts สารสนเทศ(information) เกิดมาจากการรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการจัดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล (tuning data) ให้เป็นสารสนเทศ คือการประมวลผล (process) แสดงได้ดังภาพต่อนี้ (Stair, 1966 , p.6)









ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศในการบริหารงาน

- ด้านการวางแผน

- ด้านการตัดสนใจ

- ด้านการดำเนินงาน

คุณสมบัติของข้อมูลสารสนเทศที่ดี

- มีความถูกต้อง (accuracy)

- มีความสมบูรณ์ (completeness)

- ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)

- มีความทันสมัย (up to date)

- ตรวจสอบได้ (verifiable)

- ความประหยัด (economics)

- ความยืดหยุ่น (flexibility)

- สามารถเผยแพรได้ (presentation)

- ความง่าย (simple)

- ทันกับความต้องการ (timeliness)

ระบบและระบบสารสนเทศ

ความหมาย พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2538, หน้า 690 ระบบหมายถึง ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่ซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานกันเป็นอันเดียวกัน ตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ประสานเข้ากันโดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

บุญสิริ สุวรรณเพชร์ (2539, หน้า 191) ระบบหมายถึงหน่วยงานหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนเข้าด้วยกัน หรือชุดขององค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบของความสัมพันธ์ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และดำเนินงานร่วมกันไปเพื่อสู่เป้าหมายเดียวกัน

องค์ประกอบสำคัญของการดำเนินการของระบบ

1 ส่วนนำเข้า (Input)

2 การประมวลผล หรือกระบวนการ (Process)

3 ผลลัพธ์ (Output)

4 ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

เปรียบเทียบด้านปริมาณและคุณภาพของระบบ


-แรงงาน

-เครื่องจักรกล

-วัสด

-เงิน

-อาคารสถานที่

-อื่นๆ


-การจัดการ

-การจัดเก็บ

-การจัดลำดับ

-การผลิต

-การประมวลผล


ผลผลิต หรือผลลัพธ์ตามเป้าหมาย


input


process


output


Feedback


การดำเนินการของระบบ






ประเภทของระบบ

พิชิต สุขเจริญพงษ์ (2537, หน้า 93-95) แบ่งประเภทของระบบตามเงื่อนไข ความเหมาะสม ดังนี้

1. ระบบเชิงกายภาพและระบบเชิงแนวคิด(Physical/Conceptual systems)

2. ระบบธรรมชาติ (natural systems)

3. ระบบทางสังคม (social systems)

4. ระบบเปิด และระบบปิด (open system sandclosed system)s

5. ระบบที่คงที่และไม่คงที่ (stationary systems and non stationary systems)

หลักการระบบสารสนเทศ (Information System)

ระบบการจัดการสารสนเทศที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานด้านการจัดการ การรวบรวม คนคนการประมวลผลและแสดงผล ตลอดจนการเผยแพร่ และแสดงผลเป็นสารสนเทศซึ่งเป็นผลผลิตของระบบซึ่งมีเป้าหมาย ได้แก่ การผลิตสารสนเทศที่เหมาะสมจากข้อมูลที่นำเข้าระบบ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุมภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการดำเนินงานในกระบวนงานธุรกิจขององค์กร ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

1. นำข้อมูลมาเป็น ตัวป้อน data=input

2. เทคโนโลยีสารสนเทศ

3. ฐานข้อมูล(Database)

4. ระบบการควบคุม

5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์

6. บุคลากร

7. ผู้ใช้งาน

เป้าหมายของระบบสารสนเทศ

ประกอบด้วย 7 ข้อ ดังนี้ (ประสงค์ ปราณีตพลกรังและคณะ,2542,หน้า20-21)

1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

2. กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในองค์กรเพิ่มขึ้น ได้เปรียบในการแข่งขันทางการผลิต

3. เพิ่มคุณภาพในการให้บริการ

4. ผลิตสิ่งใหม่

5. การสร้างโอกาสทางธุรกิจ

6. ดึงดูดลูกผ้า ผู้ที่สนใจ

ระบบสารสนฐานคอมพิวเตอร์

ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ดังนี้

1. HARDWARE

2. SOFTWARE

3. DATA

4. TELECOMMUNICATION

5. PROCEDURE

6. PEOPLE

ระบบสารสนเทศมีหน้าที่พื้นฐานที่สำคัญ 5 ประการ

1. Input function

2. Storage function

3. Processing function

4. Output function

5. Communication function

ความสำคัญของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศมีความสำคัญดังนี้

1. การแข่งขันทางการค้า

2. การขยายเครือข่ายทางการค้า

3. การท้าทายของเศรษฐกิจโลก

4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

5. Communication function












ลักษณะและโครงสร้างของระบบสารสนเทศ

โครงสร้างของระบบสารสนเทศ














โครงสร้างของระบบสารสนเทศ

1. ระดับปฏิบัติการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ พนักงานที่ต้องทำงานเป็นประจำทุกวัน สารสนเทศที่เป็น TPS เน้นง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน

2. ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ หรือหัวน้าส่วน หัวหน้าแผนก เน้นการควบคุมปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ

3. ผู้บริหารระดับกลาง ทำหน้าที่ในการควบคุมจัดการ และบริหารทรัพยากรต่าง ๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ ใช้สารสนเทศในการวางแผน ดำเนินการประชาสัมพันธ์และใช้ควบคุมการปฏิบัติงาน

4. ผู้บริหารระดับสูง ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์และการตัดสินใจขององค์กรทั้งหมด ที่ต้องใช้ระบบสารสนเทศทั้งระบบ

เพื่อมาประกอบการตัดสินใจ

ลักษณะของระบบสารสนเทศ

1. ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการสนับสนุนการทำงานของระบบสารสนเทศ จึงเกิดประสิทธิภาพ

2. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบภายในองค์กร

3. มีระบบฐานข้อมูลเป็นศูนย์กลาง การจัดเก็บ การประมวลผลและการเผยแพร่


Comments :

0 ความคิดเห็น to “เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ”

แสดงความคิดเห็น