ห้องสมุดเสมือน

12:23 :: Posted by - IT_GiRL51 :: Category -

ความหมาย ประกอบ ด้วยคำว่า Virtual (เสมือน) + Library (ห้องสมุด)ซึ่งคำว่า เสมือน ในที่นี้หมายถึงการเชื่อมโยงข้อมูลในหัวข้อ หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากที่ต่าง ๆ มาไว้ที่หน้าจอเดียวกัน คำว่าห้องสมุด หมายถึง แหล่ง รวบรวมวิทยาการความรู ้ ข้อมูล ข่าวสาร และศิลปวิทยาต่าง ๆ ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมผสมผสานกับการจัดการฐานข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งข้อมูลจากห้องสมุดและข้อมูล จากแหล่งความรู้อื่น ๆ เป็นเสมือนประตูเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลห้องสมุดทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องมี ห้องสมุดเสมือนควรมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ แต่มีข้อจำกัด คือต้องใช้เนื้อในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากและต้องมีโปรแกรมการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลได้ทุกรูปแบบ โดยมีลักษณะข้อมูลที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องอาศัยระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล

ความเป็นมา

- เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าทำให้การผลิตสื่อมีจำนวนมาก และเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ส่งผลให้มีปริมาณมากเกินกำลังที่ห้องสมุดจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การที่ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้บริการในรูปแบบสื่อต่าง ๆ ได้ครบถ้วน

- พฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดเปลี่ยนแปลงไป คือ ต้องการที่จะสืบค้นได้ตามที่ต่าง ๆแบบทันทีทันได้ เช่น บ้าน ที่ทำงาน เป็นต้น และความต้องการข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

ความเป็นมาของห้องสมุดเสมือนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

เริ่มดำเนินการในปี 2543 ภายใต้แนวคิด กระบวนการจัดการ การออกแบบอาคาร และจัดหา สื่อ ต่าง ๆ จากท่านอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน และคณะผู้บริหาร ที่ต้องการให้อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร และผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้ได้มีโอกาสค้นหาความรู้ ได้ตามปรัชญา ของมหาวิทยาลัยที่ว่า อยู่ที่ไหนก็เรียนได ้ ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์สืบค้นสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การหาความรู้ การทำผลงานวิชาการ การทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ การวิจัยของอาจารย์ นักศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ระดับของห้องสมุดเสมือน

แบ่งออกได้ 3 ระดับ

1. ผู้ใช้เข้าถึงห้องสมุดโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การใช้ห้องสมุดอัตโนมัติ คือ OPAC (Online Public Access Catalog) ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จากหน้าจอ OPAC

2. ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการนำส่งเอกสารที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส ์ ทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ โดยผู้ใช้อาศัยหน้าจอ OPAC และจากเครือข่ายห้องสมุดซึ่งสามารถแปลงผลลัพธ์ที่ได้ ส่งผ่านไปยังสื่อข้างต้น

3. ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยทางอิเล็กทรอนิกสซึ่งเป็นห้องสมุดที่ปราศจากหนังสือ โดยสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคม

คุณลักษณะของห้องสมุดเสมือน

ที่สำคัญมี 5 ประการ คือ

1. เน้นเทคโนโลยีที่สำคัญ 4 ส่วนหลัก

1.1 Public Access Information คือ การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ซึ่งต้องมี Existing Catalog, Published Indices ในทุกรูปแบบ

1.2 Electronic Image Document คือ ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของภาพ และสามารถสำเนาได้ตามต้องการ

1.3 Open Network Delivery คือความสามารถในการขนย้ายทรัพยากรสารสนเทศที่เชื่อมต่อด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1.4 Intellectual Property Management คือการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์ของทรัพยากรสารสนเทศที่นำมาให้บริการ

2. ประกอบด้วยสารสนเทศที่จำเป็นขั้นพื้นฐานในห้องสมุด

3. ใช้ระบบ OPAC ในการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ

4. การเข้าถึงดรรชนีและสาระสังเขปโดยการใช้คอมพิวเตอร์

5. สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล ต่าง ๆ ได้ และควรมีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

Comments :

0 ความคิดเห็น to “ห้องสมุดเสมือน”

แสดงความคิดเห็น